วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
- ความถูกต้อง (accuracy)
- ความเชื่อถือได้ (reliability)
-การตรวจสอบได้ (verifiability)รูปแบบ (Format)
- ชัดเจน (clarity)
- ระดับรายละเอียด (level of detail)
- รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
- สื่อการนำเสนอ (media)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
- ประหยัด (economy)เวลา (Time)
- ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
- การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
- มีระยะเวลา (time period)กระบวนการ (Process)
- ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
- การมีส่วนร่วม (participation)
- การเชื่อมโยง (connectivity)
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS)
มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network)กระบวนการ (procedure) และคน (people)

- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร - กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
- ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
- ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
- ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผล (Effectiveness)
- ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
- ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
- ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
- ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
- คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

การแพทย์พื้นบ้านไทย

เหยียบเหล็กแดง













หากพูดถึง “การเหยียบเหล็กแดง”เชื่อว่าหลายคนคงนึกไปถึงการทรงเจ้า เข้าทรง เดินหรือวิ่งฝ่ากองถ่านที่แดงก่ำในเทศกาลกินเจ ซึ่งก็แล้วแต่วิจารณญานของผู้พบเห็นว่าจะเชื่อในสิ่งที่เห็นหรือเชื่อว่าเป็นเพียงการการแสดง แต่การ“เหยียบเหล็กแดง”ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการใช้เท้าของหมอผู้รักษาไปเหยียบบนเหล็กที่กำลังเผาร้อนแดงอยู่บนเตาไฟ แล้วเหยียบไปตามร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งคล้ายกับการย่ำขางของชาวล้านนา แต่ต่างกันที่เทคนิควิธีการ อุปกรณ์และตัวยาสมุนไพรที่ใช้ร่วม
“เหยียบเหล็กแดง” บรรเทาโรคด้วยภูมิปัญญาไทย
“สง่า พันธ์สายศรี”หมอพื้นบ้านผู้ทรงคุณวุฒิแพทย์แผนไทยประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัย 75 ปี คือผู้ที่สืบทอดภูมิปัญญาศาสตร์แพทย์ทางเลือกแขนงนี้มาจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นทวด นับเวลาแล้วร่วม 100 กว่าปี














“สง่า พันธ์สายศรี” หมอพื้นบ้านผู้ทรงคุณวุฒิแพทย์แผนไทย
สำหรับขั้นตอนการรักษา ก่อนอื่นจะต้องมีการบูชาครูด้วยดอกไม้ธูปเทียน พร้อมด้วยเงิน 12 บาทไม่ขาดไม่เกิน เตรียมเตาถ่านและเหล็กสำหรับเหยียบ ซึ่งอาจจะใช้ “ผาล” เหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ หรือจะเป็นพวกมีด ดาบ ศาสตราวุธก็ได้ ถือเป็นการเอาเคล็ดที่จะพิชิตชัยโรคร้ายได้ด้วย แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ “น้ำมันงา” ที่ผ่านการปลุกเสก เพราะจะช่วยให้หมอผู้รักษาที่เหยียบเหล็กแดงไม่ร้อนเท้า รวมกระทั่งถึง “ใบพลับพลึง” หรือ “ใบตอง” มารองก่อนลงเท้าไปกับตัวผู้ป่วย เพราะน้ำมันในใบไม้พวกนี้จะช่วยบรรเทาปวดได้ดี หมอย้ำว่า การนวดด้วยวิธีนี้ผู้นวดจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถควบคุมน้ำหนักความแรงของการกดได้ โดยการนวดอาจใช้อวัยวะส่วนต่างๆ มาประกอบด้วย เช่น นิ้วมือ ศอก เท้า มากด คลึง บีบ ทุบ สับ ตามร่างกายผู้ป่วย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อราย ตอนท้ายผ่อนแรงทั้งสองฝ่ายด้วยการใช้ลูกประคบมาร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับไอร้อนจากลูกประคบในการทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น















ไอร้อนจากลูกประคบในการทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น
หมอเผยว่า ในขั้นตอนการเหยียบเหล็กแดง ผู้เหยียบจะต้องทำจิตให้สงบ เป็นสมาธิระลึกถึงครูบาอาจารย์ และทำพิธีดับพิษไฟก่อนการเหยียบเหล็กแดง อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่มีเมตตาบารมี ถือศีลมีจิตใจมั่นคง มีสมาธิตั้งอยู่ในพรหมวิหารสี่ นอกจากนี้ ยังมีข้อบังคับด้วยว่าหมอที่จะมารักษาแบบเหยียบเหล็กแดงนี้จะต้องเป็นเพศชายเท่านั้น ซึ่งต่างจากของล้านนาที่ผู้ย่ำเป็นได้ทั้งชายและหญิง “การเหยียบเหล็กแดงนี้ จะช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก แขนติด ไหล่ติด หลังแข็งเป็นไม้ก็ช่วยได้ ทำให้อุ่นและนวด จะสบายหลังการนวด แต่ต้องระวังในคนท้องทำแล้วจะให้โทษ ทำแล้วแท้งเลย หรือเด็กเล็กๆ คนสูงอายุ เป็นโรคพุพอง น้ำเหลืองเสีย ความดันโลหิตสูงก็ทำไม่ได้ ไข้ตัวร้อน เป็นไข้ รักษาไม่ได้ เพราะใช้ไฟจากความร้อนด้านนอกไปผสมผสาน ถ้าเอาไปถ่ายความร้อนให้กลับไปจะทำให้ไข้สูงขึ้นเป็นอันตรายและถ้ามีประจำเดือนก็ทำไม่ได้ ถ้าเหยียบเข้าไปจะทำให้ทะลักออกมา ตกเลือดได้ ถ้าท้องอ่อนๆ ก็แท้งเลย” หมอกอเดรอ กล่าว
ส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาจะมากน้อยขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วย หากได้นวดทุกวันให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นก็จะเห็นผลเร็วขึ้น

“ที่ผ่านมายังไม่พบมีใครได้รับผลกระทบจากการมาเหยียบเหล็กแดงนี้ ในแต่ละวันก็จะมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวเดินทางมาให้รักษาจำนวนนับไม่ถ้วน เฉลี่ยวันละ 20-30 ราย ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.ยกเว้นวันศุกร์ที่จะหยุดการรักษา โดยนอกจากตัวหมดเองแล้ว ยังมีลูก ๆ อีก 6 คนที่ช่วยกันสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้” หมอกอเดรออธิบาย และสรุปทิ้งทายว่า “หลังจากการนวดแล้ว ผู้ป่วยควรมีการบริหารเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอยู่เป็นประจำ อาจใช้เครื่องมือง่ายๆ ที่หาได้ในครัวเรื่อนอย่างการทำรอกชักเท้าซ้ายขวาแทนจักรยาบกราคาแพงที่ขายกันอยู่”
การอยู่ไฟ































เมื่อหญิงมีการคลอดบุตร หลังการคลอดจะมีการ “ อยู่ไฟ ” หรือเรียกว่า “อยู่กรรม” การอยู่ไฟ ชาวอีสานเชื่อว่าสามารถทำให้แม่ลูกอ่อนมีสุขภาพแข็งแรง ผิวพรรณดี มดลูกเข้าอู่ไว ซึ่งจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อ ประกอบกับเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ในการดำเนินชีวิตให้กับแม่ลูกอ่อน และญาติพี่น้อง หญิงที่อยู่ไฟ จะต้องมีการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด มีข้อห้ามในการปฏิบัติมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอาหาร คนอยู่ไฟถูกห้ามเรื่องอาหารแทบทุกชนิด เพราะกลัวจะกินอาหารที่เป็นของแสลงเข้าไป การห้ามกินของแสลงเรียกว่า “ คะลำ ” เช่น ห้ามกินนก กินหนู จะเรียกว่าคะลำนกคะลำหนู
ลักษณะการอยู่ไฟ
คือจะให้แม่ลูกอ่อนนั่งที่สะแนน (ที่นั่งที่ทำขึ้นโดยเฉพาะมีลักษณะคล้ายแคร่) โดยจะมีคีงไฟอยู่ข้าง ๆ เพื่อให้ความร้องแก่แม่ลูกอ่อนที่อยู่ไฟ ระยะเวลาอยู่ไฟจะมีตั้งแต่ 7 วัน ถึง 1 เดือน แล้วแต่ใครจะมีความสามารถปฏิบัติได้
ขั้นตอนการอยู่ไฟ
1. แม่ลูกอ่อนจะอาบน้ำอุ่นชระร่างกาย แต่งกายโดยนุงผ้าถุงผืนเดียวใช้ผ้าพันอก
2. หมอพื้นบ้านจะทำพิธีผาบไฟ (พิธีป้องกันพิษไฟ พิษความร้อน) จะทำพิธีกินผีกินปอบไปพร้อม ๆ กัน
3. เข้านั่งในเรือนกรรม คือ นั่งบนสะแนน ซึ่งบริเวณที่ใช้ในการอยู่ไฟเรียกว่าเรือนกรรม
4. เมื่อครบกำหนด 7 – 30 วันจะออกไฟ คือ ออกจากอยู่ไฟ หมอพื้นบ้านก็จะทำพิธี “ เสีย
พิษไฟ ” คือ การทำพิธีถอนพิษไฟ และจะตัดหางใบตองกล้วย ปิดฝาหม้อกรรม (หม้อที่ต้มน้ำมุนไพรเพื่อดื่มและอาบ) แล้วคว่ำหม้อ เป็นสัญลักษณ์ถือว่า หมอกรรม การอยู่กรรมได้สิ้นสุดลงแล้ว
สมุนไพรที่ใช้ดื่มและอาบ
จะนิยมใช้แก่นมะขามต้มอาบ และใช้ต้นนมสาว เครือฮวงสุ่ม แก่นมะเฟืองส้ม ต้มสำหรับดื่มโดยเชื่อว่า แก่นขาม บำรุงหัวใจ นมสาว บำรุงน้ำนม รักษามดลูก และแก้ของแสลง ฮวงสุ่ม บำรุงเลือด แก่นมะเฟือง ขับเลือดเสีย บำรุงเลือด ทำให้เลือดลมดี
ข้อปฏิบัติ และข้อห้ามในการอยู่ไฟ
1. หญิงที่อยู่ไฟจะต้องนั่ง และปฏิบัติกิจในเรือนกรรมตลอด
2. การอาบน้ำ และดื่มน้ำให้เป็นน้ำร้องสมุนไพร
3. อาหารกินข้าวกับเกลือ (เกลือก้อนกับกระทะ)
4. ฟืนที่ใช้ก่อไฟ คือ ไม้จิก หรือไม้มะขาม ไม้แก ส่วนมากเป็นไม้ที่เมื่อสุมไฟ แล้วไม่
แตกเป็นสะเก็ดไฟ
5. ห้ามกลับหัวกลับหางต้นฟืน ก่อนคลอดห้ามนำฟืนเข้าบ้านเด็ดขาด
6. ข้อห้ามก่อนคลอด ห้ามเตรียมอะไรสำหรับแม่ลูกอ่อน และเด็กไว้ในบ้าน แต่สามารถ
เตรียมไว้ที่อื่นได้
7. อาหารที่ห้ามเด็ดขาด คือ นก หนู อาหารทะเลทุกชนิด ผักที่มีกลิ่นแรง เช่น ชะอม
เพราะจะทำให้ผิดสำแดง โดยทั่วไปจะห้ามอาหารคาว ๆ และมีกลิ่นแรง
8. ปลาสามารถกินได้ เมื่อออกไฟในระยะแรก (ระยะเดือน - สองเดือนแรก) และกินำได้
เฉพาะปลาดุก และต้องกินส่วนหาง (นับใต้สะดือปลาลงมา)
9. ขณะอยู่ไฟให้นวดนมเป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้นมเกิดก้อน (เกิดไต)
พิธีสำหรับเด็กคลอดใหม่
เมื่อเด็กคลอดจะทำพิธีพอกพาย พอกกำเริด เพื่อป้องกันผี กับคุณไสยต่าง ๆ และจะมีคำพูดว่า “ นกเขาฮ้องกุกกรู กุกกรู ถ้าแม่นลูกสูให้เอาไปเมื่อนี้วันนี้ กายมื้อนี้ วันหน้า แม่นลูกกู จ๊ะจ๊ะ ” ถ้าเด็กไม่ร้องก็จะตบก้นให้เด็กร้อง
การนอนของเด็ก จะนำกระด้งมาขว้ำลงใช้ผ้าปูนิ่ม ๆ นำเด็กนอนโดยจัดที่จัดทางให้สวยงาม คือ อย่าให้คอเอียง แขนขาพับ ใช้ผ้าอ้อมรองข้าง ๆ เด็ก เพื่อกันเด็กพลิกตัวผิดท่าผิดทาง อาจเกิดอันตรายได้ และรูปร่างไม่สวยสมบูรณ์

อวสาน 'โต๊ะบิแด' หมอตำแยโบราณ

'โต๊ะบิแด' คือ ผดุงครรภ์ท้องถิ่น ที่เคียงคู่วิถีชีวิตของมุสลิมแดนใต้ มาเนิ่นนานแล้ว แต่ในปัจจุบัน หมอตำแยโบราณกลุ่มนี้ ค่อยๆ เลือนหาย ไปจากความทรงจำ เนื่องเพราะ การแพทย์แผนปัจจุบัน ก้าวหน้ามากขึ้น และชาวบ้านให้การยอมรับ มากกว่าเดิม บางที 'โต๊ะบิแด' ที่ยังทำงานอยู่ในขณะนี้ อาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายก็ได้ รัชดา ธราภาค มีรายงาน
คำมลายู 'โต๊ะบิแด' ก็คือ 'หมอตำแย' ในภาษาไทย
คำเดียวกันนี้ ศัพท์สาธารณสุขใช้ 'ผดุงครรภ์โบราณ' หรือเรียกกันติดปากว่า ผดบ.ที่ต้องมีคำเรียกในภาษาหมอ ก็เพราะที่ผ่านมา การตายของแม่และเด็กจากการคลอดกับโต๊ะบิแดของกลุ่มคนมุสลิมยังอยู่ในอัตราสูง จนเรื่องนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาสาธารณสุขสำหรับพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง
ปลายปีที่แล้ว ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจัดขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะรัฐมนตรีสนใจเรื่องนี้ เลยมีมติอนุมัติงบประมาณจัดซื้อรถพยาบาล เพื่อส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 120 คัน ในวงเงินคันละ 900,000 บาทให้แก่สถานบริการระดับต้น โดยเฉพาะสถานีอนามัย
เป็นเรื่องดี ที่อนามัยแม่และเด็กได้รับความใส่ใจจากผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และคงจะดีมากๆ หากปมปัญหาซึ่งถูกพิจารณาว่าอยู่ตรงความห่างไกลทุรกันดารของพื้นที่ จะถูกสางให้สิ้นไปด้วยการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
แต่การแจกรถพยาบาลเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุดหรือไม่ ? ในเมื่อหลายพื้นที่ เราพบว่า แม้การเดินทางมายังโรงพยาบาลจะสะดวกง่ายดาย กระนั้น หญิงมุสลิมจำนวนหนึ่งยังคงปฏิเสธแพทย์แผนปัจจุบัน และยินดีจะฝากชีวิตไว้กับโต๊ะบิแด ที่ถึงตอนนี้ล้วนแต่ล่วงเข้าสู่วัยชราแล้วทั้งสิ้น
โต๊ะบิแด : แม่หมอของชุมชน
ที่บ้านภัทรภักดี ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แอเซาะ ตาเย๊ะ แม่เฒ่าวัย 83 ปี เป็นโต๊ะบิแดดูแลทำคลอดให้กับคนแถวนี้มาตั้งแต่สาว นับเป็นสิบๆ ปีที่ 'เมาะ' (คำเรียกหญิงชราในภาษามลายู) แอเซาะ สืบทอดภารกิจนี้จากผู้เป็นแม่ ยาย และทวด
เมาะแอเซาะ บอกว่า ในเมื่อบรรดาพี่น้องร่วมท้องทั้ง 4 คน มีเมาะเพียงคนเดียวที่เป็นผู้หญิง และโดยปริยาย นางจึงกลายเป็นผู้สืบสายเลือดโต๊ะบิแดจากคนรุ่นก่อนหน้า ซึ่งนางก็รับหน้าที่นี้ด้วยความเต็มใจยิ่ง
"คนเจ๊ะเหเชื่อถือในตัวแม่มาก ในตากใบก็มีคนมารับแม่ไปทำคลอดบ่อยๆ แม่ไปทำคลอดให้ชาวบ้าน พาฉันไปด้วยทุกครั้ง ดูแม่มาตั้งแต่เป็นเด็ก ก็ทำเป็นไปเองตามธรรมชาติ" เมาะแอเซาะ เล่าด้วยภาษามลายูผ่านล่าม นางบอกว่า ครั้งแรกที่ต้องทำคลอดด้วยตัวเอง จำได้ว่าตอนนั้นอยากทำมากๆ จนมือสั่น ที่รู้สึกอย่างนั้น คงเพราะนี่เป็นพันธกิจสำคัญของครอบครัวเธอที่มีต่อพี่น้องมุสลิม
สมัยนั้น นอกจากเมาะแอเซาะแล้ว จำได้ว่า ในหมู่บ้านยังมีโต๊ะบิแดอีกคน โดยทั่วไปโต๊ะบิแดแต่ละคนจะทำคลอดให้แบบยกครัว บ้านไหนให้โต๊ะบิแดคนไหนทำคลอด พอในบ้านมีใครคลอดก็ต้องไปตามโต๊ะบิแดคนเดิมมาทำคลอดให้ทุกคราวไป แล้วคนแถบนี้ก็มีลูกกันไม่ใช่น้อย แต่ละครอบครัวมีลูกตั้งแต่ 5-6 คน ไปจนถึง 10 คนขึ้นไป
เมาะแอเซาะ เล่าว่า ยุคนั้นงานชุกมาก เดี๋ยวบ้านนั้นคลอด บ้านนี้คลอด บางทีแม่คลอดลูกคนเล็ก พร้อมๆ กับลูกสาวใหญ่คลอดลูกคนโต และเมื่อผู้ที่จะคลอดเป็นคนบ้านเดียวกัน เมาะแอเสาะก็ต้องวิ่งทำคลอดให้เป็นที่ชุลมุน

ถามว่ายากมั้ย ไปทำคลอดแต่ละครั้ง โต๊ะบิแดต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
เมาะแอเซาะบอกว่า ไม่ยุ่งยากอะไร
"ไปแต่ตัว ไปถึงก็ลับไม้ไผ่ พอเด็กคลอด ก็ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้แน่น ใช้ไม้ไผ่ตัด แล้วค่อยใส่แผลด้วยน้ำมันก๊าด อาบน้ำให้เด็ก ล้างรก จับใส่ห่อผ้าพร้อมสมุนไพรให้พ่อเด็กนำไปฝัง ส่วนแม่เด็ก ก็ใช้ก้อนเส้าเผาไฟหุ้มด้วยผ้าหนามาประคบร้อนให้ที่หน้าท้อง" เมาะแอเซาะเล่ากรรมวิธีพอสังเขป
ทารกน้อยลืมตาดูโลกเรียบร้อย แต่ภารกิจของโต๊ะบิแดยังไม่แล้วเสร็จ แม่หมอประจำหมู่บ้านยังต้องแวะเวียนมาดูอาการให้แม่เด็ก รวมถึงการช่วยนวดเฟ้นไปอีกหลายวัน จนร่างกายแม่เด็กฟื้นคืนสภาพแล้ว โต๊ะบิแดจึงจะได้ค่าตอบแทน ซึ่งอาจจะเป็นเงินจำนวนเล็กๆ น้อยๆ หรือบางบ้านก็ตอบแทนเป็นข้าวสารอาหารแห้ง
ฝนจะตกฟ้าจะร้องคนจะออกลูกเป็นเรื่องห้ามไม่ได้ งานของโต๊ะบิแดโดยทั่วไปจึงไม่ยากเย็นเข็ญใจ ปัญหาจะเกิดในกรณีที่ครรภ์ผิดปกติ
ถามเมาะแอเซาะเรื่องนี้ เมาะยอมรับว่า เจอมาไม่น้อยที่เด็กคลอดยากมากๆ หรือคลอดได้แต่รกติด บางทีไปทำคลอดให้ตั้งแต่ตีห้า จนบ่ายสองเด็กยังไม่ยอมคลอดก็เคยมี ถ้าเป็นแบบนี้ ชาวบ้านเชื่อกันว่า อาจจะเป็นพวกเล่นคุณเล่นของหรือไปดองแวะกับเรื่องไสยศาสตร์ ฉะนั้นการแก้ปัญหาก็ต้องใช้วิธีทางคาถา ทาน้ำมัน เป่าน้ำมนต์ ฯลฯ
ความเสี่ยงในยุคพัฒนา
ผ่านมาเป็นสิบๆ ปี การคมนาคมขนส่งสะดวกสบายขึ้นมากแล้ว แต่ทำไมแม่มุสลิมก็ยังอยากจะคลอดกับโต๊ะบิแดทั้งรู้ว่าเป็นความเสี่ยง ?
ร.ต.ท.หญิงนวลตา อาภาคัพภะกุล จากหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ศึกษาองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวทางมุสลิม พบว่า วัฒนธรรมและศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาวะของสตรีไทยมุสลิม
"คัมภีร์ในศาสนาอิสลามกำกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดจนตาย บทบาทในครอบครัว ข้อปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยล้วนแต่อ้างอิงอยู่กับประเด็นทางศาสนา คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นเสมือนธรรมนูญชีวิต" ร.ต.ท.หญิงนวลตา เผยข้อค้นพบ และเพิ่มเติมว่า "พ่อแม่เปรียบเสมือนพระเจ้าของลูกๆ ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้แม้ว่าจะเป็นเด็กผู้ชาย แต่สำหรับเด็กผู้หญิงภายหลังจากแต่งงานแล้ว ความเป็นพระเจ้าของพ่อแม่ก็สิ้นสุดลง เมื่อพวกเธอได้เข้าไปอยู่ภายใต้การปกครองของสามี"
เมื่อเป็นแบบนี้ ผู้หญิงจึงไม่สามารถตัดสินใจเองได้ แต่ต้องรอสามี หากสามีไม่อนุญาต เธอย่อมไปคลอดที่โรงพยาบาลไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในบ้าน ผู้เป็นแม่ของสามียังเป็นคนสำคัญยิ่งกว่า
เพศของคนทำคลอดเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ยึดมั่นในอิสลาม แต่การเจาะจงเรียกหาหมอผู้หญิงก็ดูจะเป็นเรื่องยากพอๆ กัน
นอกจากนี้ การเกิดของทารกมุสลิม ยังมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่เรียกว่า 'อาซาน' และ 'อิกอมะฮฺ' ซึ่งจะต้องกระทำทันทีหลังจากทำความสะอาดทารกแรกคลอด โดยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่นับถือของครอบครัวจะกล่าวอาซานที่ข้างหูของทารกเพศชาย ส่วนอิกอมะฮฺถูกกำหนดให้ทำที่ข้างหูซ้ายของทารกหญิง ทั้งนี้ ก็เพื่อบอกทารกน้อยว่า "เจ้าเป็นอิสลาม"
ร.ต.ท.หญิงนวลตา ยังพบหลักฐานที่ยืนยันถึงศาสนกิจหลังคลอด โดยการเปิดปากเด็กด้วยการใช้นิ้วบี้ลูกอินทผลัมไปปาดที่เพดานปากของทารก จนกว่าทารกจะมีปฏิกิริยาตอบโดยการดูดนิ้ว
จากนั้น ภายในครึ่งชั่วโมง เด็กจะต้องดูดนมแม่ เพื่อรับภูมิคุ้มกันโรคที่มีในหัวน้ำนม
การคลอดที่บ้านยังให้ความรู้สึกที่แตกต่าง เพราะมุสลิมผูกพันยึดมั่นในครอบครัวและชุมชน เมื่อไปโรงพยาบาล กระบวนการให้บริการทางการแพทย์ กลับแวดล้อมสตรีมุสลิมผู้เตรียมจะเป็นแม่ด้วยบุคลากรการแพทย์ที่ล้วนเป็นคนแปลกหน้า เธอย่อมรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยว
การคลอดกับโต๊ะบิแด แม้จะเป็นความเสี่ยงในความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ที่เชื่อมั่นในการแพทย์ที่ทันสมัย แต่สำหรับมุสลิม ความเจ็บป่วย หรือแม้แต่ความตาย ล้วนเป็นลิขิตจากอัลลอฮฺ
'อัพเกรด' โต๊ะบิแด
นอกจากการซื้อรถพยาบาลแจกเพื่อขนคนเจ็บ ยังมีความพยายามอื่นที่จะจัดการกับปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของแม่และเด็กมุสลิม
จากมุมมองด้านสุขอนามัย การทำคลอดแบบพื้นบ้านของ ผดบ.เป็นสิ่งที่ยากจะยอมรับ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาธารณสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงได้จัดการอบรมให้ความรู้แก่ 'ผดุงครรภ์โบราณ' จำนวนนับร้อยราย พร้อมแจกเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อเคี่ยวเข็ญให้ ผดบ.ต้องลงมือทำคลอดแบบถูกหลักสุขอนามัย
เมาะแอเซาะเองก็เป็นหนึ่งใน ผดบ.ที่ผ่านการอบรม เมาะยอมรับว่า ตอนเข้าอบรมรู้สึกหงุดหงิดขัดใจ รำคาญที่สุดกับถุงมือ สำลี แอลกอฮอล์ ขันสเตนเลส กรรไกร และอีกหลายอย่างที่ถูกกะเกณฑ์ให้ต้องใช้ ก็ทำคลอดมาตั้งหลายสิบปี เมาะทำมาได้ไม่เห็นมีใครว่าอะไร
แต่เมื่อกลับไปยังหมู่บ้าน ถึงวันที่โต๊ะบิแดต้องไปทำคลอดให้ชาวบ้านด้วยมาดใหม่
"วันแรกถือกระเป๋าที่ได้จากสาธารณสุขไปทำคลอด คนแซวว่าฉันถือกระเป๋าเครื่องมือหมอใบโตแล้วดูทันสมัยดี" จากการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน ทำให้เมาะและชาวบ้านเริ่มรับรู้ถึงความเสี่ยง รวมทั้งทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ที่สำคัญทางเลือกนี้ก็ดูเหมือนจะไม่ขัดกับวิถีที่เคยดำเนินมาจนเกินจะปรับตัว
เช่นเดียวกับ มีเนาะ สะมะแอ โต๊ะบิแดวัยเกิน 80 ปี จากบ้านกูบู ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ แม้เมาะมีเนาะจะพลาดโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม เพราะบังเอิญตรงกับช่วงการไปฮัจจฺ ที่มักกะฮฺ แต่เมาะมีเนาะก็รับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่มาถึง
ทุกวันนี้ เมาะมีเนาะยังช่วยโต๊ะบิแดอีกคนซึ่งผ่านการอบรมไปทำคลอดให้ชาวบ้านอยู่บ้าง แต่เมาะจะบอกชาวบ้านตั้งแต่เริ่มตั้งท้อง ว่าให้ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชุมชน และต้องไปตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นท่าไม่ดี ต้องไปคลอดที่โรงพยาบาล เผื่อฉุกเฉินหมอพยาบาลจะเยียวยาได้ทันท่วงที
ตอนนี้ ทั้งเมาะมีเนาะ และเมาะแอเซาะ รวมถึงโต๊ะบิแดที่ผ่านการอบรม ช่วยทำหน้าที่เป็นเหมือนประชาสัมพันธ์ให้กับโรงพยาบาลไม่ต่างจากอาสาสมัครสาธารณสุข
ซารีฮะ อารอมะ อาสาสมัครสาธารณสุข บ้านภัทรภักดี ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ ซารีฮะบอกว่า แม้ 27 ปีที่แล้วเธอจะลืมตาดูโลกด้วยน้ำมือโต๊ะบิแด แต่วันนี้ มุสลิมที่เจ๊ะเหนิยมไปคลอดที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านมีความรู้มากขึ้น กลัวหมอกลัวโรงพยาบาลน้อยลง ส่วนหนึ่งก็โดยการให้ข้อมูลจากอาสาสมัครสาธารณสุขอย่างเธอ ซึ่งผ่านการอบรมแล้วมาพูดคุยให้ชาวบ้านฟัง
"ชาวบ้านที่ไปคลอดก็กลับมาบอกต่อๆ กัน ว่าไปโรงพยาบาลแล้วสะดวก ปลอดภัย หมอไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครใช้ ผดบ.กันแล้ว" ซารีฮะให้ข้อมูล

การย่ำขาง




























การย่ำขาง เป็นวิธีบำบัดรักษาอาการทางกายวิธีหนึ่งของระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา ส่วนมากใช้ในการรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เอ็น ปวดข้อ กระดูก ชา อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยการใช้เท้าชุบน้ำยา(น้ำไพล หรือน้ำมันงา) ไปย่ำบนขางที่เผาไฟจนร้อนแดง แล้วจึงเอาเท้าไปย่ำบนร่างกายหรืออวัยวะของผู้ป่วยที่เกิดพยาธิสภาพ โดยใช้คาถาร่วมด้วย คำว่า ขาง ก็คือโลหะเหล็กผสมพลวงที่นำไปหล่อเป็น ใบขาง (ใบไถ สำหรับไถนา) หรือหม้อขาง (กระทะ) หมอบางคนเชื่อว่า ขาง มีความขลัง เนื่องจากใช้ไถนาเลี้ยงคนทั้งโลก บางคนบอกว่าขางมีประโยชน์ในการรักษา ไม่เป็นสนิม มีแร่ธาตุที่เป็นตัวยาสามารถรักษาโรคได้
คนสมัยก่อนใช้ใบขางที่เผาแล้วไปแช่น้ำให้เด็กกินแก้อาการเจ็บปาก เจ็บลิ้นและหมอบางคนเชื่อว่าความร้อนจากขางจะทะลุทะลวงเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยได้ลึกกว่าการใช้โลหะอื่น
กลุ่มอาการหรือโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการย่ำขาง ได้แก่ (1) กลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวด
เอ็น ปวดข้อ ปวดกระดูก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของธาตุ หรือจากสิ่งที่อยู่ในป่าไม่สามารถมองเห็นได้ เรียกว่าโป่ง ทำให้มีอาการปวดบวม มีก้อน หรือมีสาเหตุจากสิ่งที่อยู่ในน้ำไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เรียกว่า ยำ ทำให้มีอาการปวด คัน ผิวหนังแดง ร้อน มีตุ่มพอง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากสิ่งอื่นๆ เช่นผีปู่ย่า ผีเจ้าที่ ลืมแก้บน คุณไสย ฯลฯ (2) กลุ่มอาการชา ที่มักเกิดที่มือ เท้า แขน ขา เอว ซึ่งหมอสำราญ มาฟู หมอย่ำขาง จังหวัดเชียงรายเชื่อว่าเกิดจากเลือดลมในร่างกายไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เส้นเลือดตีบ กลุ่มอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หมอสำราญเชื่อว่าเป็นอาการที่เชื่อมโยงมาจากการปวด ซึ่งเกิดจากธาตุลมเข้าแทรกทำให้เส้นตึงแข็ง โดยขึ้นกับระยะเวลา ถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้เสียเส้น กลายเป็นอัมพฤกษ์ ถ้าปล่อยไว้นานเส้นจะเสียแบบถาวร ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษา
หมอย่ำขางจะไม่รักษาให้ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีประจำเดือน ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหม่ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยมะเร็งและโรคปอดเพราะความร้อนจะทำให้มะเร็งกระจายตัวได้ดีขึ้น ผู้ป่วยโรคหืด และผู้ป่วยที่มีไข้สูง ผู้ที่รับการรักษาด้วยการย่ำขาง จะต้องระวังในเรื่องอาหารการกินเป็นสำคัญ เพราะหมอเชื่อว่าจะทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น อาหารที่ห้ามรับประทานได้แก่ ไข่ เนื้อวัว เนื้อควาย สัตว์ปีก ของดอง ของทะเล ปลาไหล ปลาไม่มีเกล็ด กบ ผักชะอม ฟักเขียว หน่อไม้ บอน และทุเรียน
การย่ำขางจึงเป็นอีกองค์ความรู้ภูมิปัญญาหนึ่งที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา ซึ่งน่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสุขภาพเพื่อการพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพของประชาชนต่อไป


โรคและวิธีรักษาโรคในล้านนา
หมอเมือง
หมอเมือง คือ หมอพื้นเมือง หรือหมอชาวบ้าน ที่ได้มีการศึกษาสืบต่อวิธีการรักษาโรค จากอาจารย์หมอ หรือศึกษาจากเอกสารพับสาใบลานด้วยตนเอง
หมอเมืองหรือพ่อหมอ
1. วิธีรักษาโรคของหมอเมือง วิธีรักษาโรคของหมอเมือง แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ถ้ารักษาโรคด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ มีการเสกเป่าด้วยคาถาอาคม การเช็ด การแหก เช่น การรักษาโรคกระดูกหัก “ขวากซุย” โดยการใช้น้ำมันสัตว์ก็ดี น้ำมันพืชก็ดี มาเสกเป่าด้วยคาถาแล้วใช้ทาบริเวณที่กระดูกหัก รวมถึงการรักษาด้วยการทรงเจ้า เหล่านี้เรียกว่าการรักษาแบบ “มด” ถ้ารักษาโรคด้วยการใช้ยาสมุนไพรต่างๆ เรียกว่า การรักษาแบบ “หมอ” แต่ถ้ารักษารวมกันทั้ง 2 วิธี คือใช้ยาสมุนไพรด้วย ใช้การเสกเป่าด้วย เรียกว่ารักษาแบบ “มดหมอ”1.1 วิธีรักษาแบบ ”มด”คือ วิธีการรักษาโรคด้วยไสยศาสตร์และคาถาอาคม มีวิธีรักษาได้หลายวิธี ดังนี้
1. การแหก
2. การเป่า
3. การเช็ด
4. การใช้น้ำมันมนต์
5. ให้ผีรักษา
1. การแหกคือ การที่ใช้วัตถุใดวัตถุหนึ่งเสกเป่าด้วยคาถาแล้วเอาวัตถุนั้นกดหรือขูดไปตามร่างกายของคนไข้ตรงจุดที่จะทำการรักษา วัตถุที่ใช้ประกอบการแหกมีหลายชนิด คือ หัวไพล ใช้หัวสดที่ขุดออกมาจากกอ เลือกเอาหัวที่มีขนาดพอดีกับการจับ นำมาปอกหรือขูดเอาผิวด้านนอกออก ล้างน้ำให้สะอาด
หัวไพล
2. หินเสียมตุ่น ที่เรียกดังนั้นคงเพราะมีรูปคล้ายกับฟันของตัวตุ่น หรือเพราะเชื่อว่าตัวตุ่นใช้เสียมนี้ขุดดินหากินหัวไม้ไผ่ในดิน บางแห่งเรียกว่า “ขวานฟ้า” เพราะเชื่อว่าเมื่อฟ้าผ่าบริเวณใดจะทิ้งขวานที่ผ่าไว้บริเวณนั้น แท้จริงคือเครื่องมือที่ทำจากหินของมนุษย์สมัยหิน มีลักษณะคล้ายตัวเสียม มีบ่าสำหรับใส่ด้ามไม้ มักขุดพบในดิน
หินเสียมตุ่น
3. แสงพระว้อง ทำด้วยสัมฤทธิ์ เป็นวงกลมคล้ายกับกำไลแขน มักขุดพบในดิน เชื่อกันว่าเป็นของที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นของศักดิ์สิทธิ์มีดแหก เป็นมีดขนาดเล็ก ค่อนข้างหนา ปลายไม่แหลม ทำด้วยวัตถุหลายอย่าง เช่น เขาควาย งาช้าง เหล็ก ทองสัมฤทธิ์ กระดูกสัตว์ เป็นต้นโรคที่ใช้วิธีการแหกในการรักษา เช่น ฝีในท้อง(มีก้อนเนื้ออยู่ในช่องท้อง) หรือปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคปวดตามกระดูก ปวดตามเอ็น ปวดศีรษะ ปวดหลังวิธีรักษา ถ้าใช้หัวไพล นำหัวไพลสดขนาดพอดีมา 1 หัว แล้วปอกเปลือกออก ตักน้ำใส่ขัน ฝนหัวไพลกับหินให้น้ำหยดลงในขัน แล้วจึงบริกรรมคาถาเป่าลงไปที่น้ำ ให้คนป่วยดื่มน้ำนั้นสักเล็กน้อย จากนั้นจึงใช้หัวไพล หรือวัตถุอื่นจุ่มน้ำในขันแหกหรือขูดไปตามบริเวณที่คนไข้เจ็บปวด แหกจากบนลงไปล่าง ประมาณ 10 นาที เสร็จแล้วเทน้ำในขันทิ้งให้พ้นชายคาเรือน พ่อหมอล้างมือแล้วนำคนโทน้ำมาเป่าคาถาลงไป เรียกว่า น้ำมนต์ เพื่อให้คนไข้นำไปดื่มที่บ้าน ผู้ป่วยจะมาให้หมอแหกสัก 3 ครั้ง ถ้ายังไม่รู้สึกว่าสบายขึ้นแสดงว่าการรักษาไม่ถูกกับโรค ก็ต้องหาหมอคนใหม่ทำการรักษาต่อไป

2.การเป่า คือ การท่องบริกรรมคาถาแล้วเป่าลงไปบนร่างกายบริเวณที่เจ็บป่วย โรคที่ต้องใช้วิธีการ เป่า เช่น โรคลมขึ้นศีรษะทำให้เกิดมีอาการวิงเวียนหน้ามืดตาลาย โรคตาแดง โรคตาต้อ โรคปากขาวลิ้นขาวที่เกิดในเด็กเรียกว่า “เม่า” ตุ่มพิษ อาการคันตามผิวหนัง โรคงูสวัด แผลสด แผลเปื่อย ปวดบวม เป็นฝี เป็นผ้ำ งูพิษกัด ตะขาบกัด เงี่ยงปลาดุกปัก แมลงมีพิษกัดสัตว์ต่อยฯลฯ วิธีรักษา เมื่อมีคนป่วยด้วยโรคดังกล่าวมาขอให้ช่วยรักษา พ่อหมอจะวินิจฉัยก่อนว่าเป็นโรคใด จากนั้นจึงลงมือเป่า สุดท้ายจะเป่าคาถาลงในคนโทเพื่อเป็นน้ำมนต์ให้ผู้ป่วยไปดื่มกินที่บ้าน ภายในเวลา 3 วัน ถ้าหมอเป่ารักษาถูกโรคผู้ป่วยจะรู้สึกเย็นบริเวณที่เจ็บป่วยและรู้สึกสบายค่อยๆ คลายความเจ็บป่วย ถ้ารักษาไม่ถูกโรคผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนบริเวณที่เจ็บป่วย อาการเจ็บป่วยไม่ทุเลาเบาลง จึงต้องมีการเปลี่ยนหมอผู้รักษา
3.การเช็ดคือ การที่ขัดถูสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สะอาด ในที่นี้หมายถึง การรักษาโรคโดยใช้ใบไม้หรือใบพลูเสกเป่าด้วยอาคมแล้วเช็ดถูบริเวณที่มีการเจ็บป่วยบนร่างกาย โรคที่รักษาด้วยวิธีเช็ด เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคปวดบวม อาการคันตามร่างกาย สาเหตุจากถูกขนของตัวบุ้ง แมลงมีพิษกัดสัตว์ต่อย ตะขาบกัด เงี่ยงปลาปัก เป็นต้น
ใบพลู

















4.การใช้น้ำมันมนต์คือ การรักษาการเจ็บป่วยด้วยน้ำมันมนต์ ใช้น้ำมันที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันเยือง(เลียงผา) น้ำมันหมู เป็นต้น น้ำมันที่ได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา เป็นต้น ถ้าเป็นน้ำมันหมูจะต้องเป็นหมูดำ เมื่อได้น้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ผู้เป็น “มด” จึงบริกรรมคาถาอาคมและเสกเป่าไปที่น้ำมัน เมื่อเสร็จพิธีเสกแล้งจึงเรียกน้ำมันนั้นว่า “น้ำมันมนต์” วิธีรักษา เมื่อมีการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ เช่น ข้อเท้าแพลง มีอาการเคล็ดขัดยอก กระดูกหัก เป็นต้น จะนำน้ำมันมนต์มาจบหัวเพื่อระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำมันมนต์ทาไปทั่วบริเวณที่เจ็บป่วย แล้วจึงลงมือบีบนวดคลึงอวัยวะส่วนนั้น พร้อมกับเสกเป่าอาคมลงไปด้วย เพื่อให้น้ำมันซึมเข้าไปรักษาเส้นเอ็นและกระดูก ถ้ารักษากระดูกหักในส่วนที่เคลื่อนไหว จะเข้าเฝือกควบคู่กันไปเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของกระดูกให้ผีช่วยรักษามีโรคเป็นจำนวนมากที่ต้องให้ผีช่วยรักษา เพราะคนรักษาแล้วไม่หาย จึงโยนโทษให้ผีว่าเป็นผู้ทำร้าย เมื่อโรคใดที่เกิดจากผีก็ต้องให้ผีรักษา
ผีกำลังเข้าร่างทรงเพื่อรักษาผู้ป่วย

จากนั้นคนทรงเจ้าจะแต่งตัวโดยเอาเสื้อสีฉูดฉาดมาสวมทับเสื้อที่ใส่อยู่ก่อน เอาผ้าสีโพกศีรษะ หันหน้าเข้าด้านใน ยกพานดอกไม้ขึ้นจบที่หน้าผากเพื่อเชิญพ่อเจ้าเข้าทรง ใช้เวลาเชิญประมาณ 1 นาที เมื่อวางพานลง ผีจะเข้าสิงร่างของคนทรง กิริยาท่าทางต่างๆ จะเปลี่ยนไปจากกิริยาของคนทรง ผีบางตนจะนั่งพูด ผีบางตนจะลุกขึ้นยืนและเดินวนเวียนไปมา พร้อมกับพูดทำนายทายทักว่าคนป่วยป่วยเพราะสิ่งใด เช่น ถูกผีตรงนั้นตรงนี้ ถูกผีตายโหงทำร้าย ให้ญาตินำไก่ หรือหัวหมูไปเลี้ยง หรือให้บูชาด้วยสะตวง แล้วจะหายจากการป่วยไข้ หรือป่วยเพราะมีโรคกับตัวถ้าเป็นโรคกับตัวไม่ได้เกี่ยวกับผีทำร้าย ผีที่อยู่ในร่างทรงจะทำการรักษาเอง บางครั้งมีการเช็ดด้วยหัวไพล บางครั้งเช็ดด้วยไข่ไก่ดิบ เพื่อถอนเอาโรค หรือสิ่งชั่วร้ายออก ถ้าให้ผีในร่างทรงเป็นผู้รักษา จะมีการเสียงเงินค่าครู มากน้อยแล้วแต่กฎเกณฑ์ของแต่ละสำนัก


1.2 วิธีรักษาแบบ “หมอ”คือ การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร ยาของหมอยาแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1. ยาผง คือ นำพืชที่เก็บมาตากแห้งแล้วตำผสมกัน ส่วนมากเป็นยาแก้โรคลมต่างๆ เช่น ยาลม 108 ยาผงเหลือง ยาบำรุงหัวใจ ยาผงแดง ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไข้ เป็นต้น
2. ยาต้ม คือการนำเอาส่วนราก ส่วนลำต้น ส่วนใบ ของพืชสมุนไพรมาตากแห้ง แล้วผูกเข้าด้วยกันเป็นมัดๆ หรือใช้วิธีหั่นซอยให้เป็นกากนำไปตากแห้ง แล้วผสมกันทำเป็นห่อๆ สำหรับต้มดื่มน้ำ เช่น ยารักษาโรคนิ่ว ยาธาตุน้ำ ยาแก้มะโหก เป็นต้น
3. ยาฝน คือการนำส่วนราก ส่วนลำต้น ส่วนหัว ของพืชมาตากแห้งแล้วนำมารวมกันเป็นชุด สำหรับฝนกับหินให้น้ำยาหยดลงในขัน ให้คนไข้ดื่มน้ำยานั้น เช่น ยารักษาโรคลมผิดเดือน แก้ขาง แก้เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
4. ยาลูกกลอน คือยาที่ตำเป็นผงแล้ว นำมาผสมกับน้ำผึ้ง หรือน้ำมะขามเปียก ให้ข้นเหนียวแล้วปั้นเป็นลูกกลอน เช่น ยาถ่ายพยาธิ ถ่ายตัวตืด ยาบำรุงธาตุ เป็นต้น
5. ยาสด คือ เจียดเอาสดๆ เดี๋ยวนั้นใช้เดี๋ยวนั้น เก็บไว้นานไม่ได้ เช่น ยารักษาอาการชักกระตุก ยาชะโลมตามร่างกายเมื่อมีไข้สูง ยาพอกหัวเด็กเมื่อมีอาการไข้ เป็นต้น
2. การถ่ายทอดองค์ความรู้ของหมอเมือง 2.1 การถ่ายทอดวิธีการรักษาแบบมด การศึกษาจะเริ่มด้วยการไปติดต่อขอเป็นลูกศิษย์กับมดหมอที่มีความรู้และเป็นผู้ประกอบการในเรื่องการรักษาโรค เมื่ออาจารย์ไม่ขัดข้องจะรับไว้เป็นลูกศิษย์ และหมอจะดูฤกษ์มื้อจันวันดีที่เป็นมงคล แล้วนัดหมายให้ลูกศิษย์ใหม่แต่งดาเครื่องขันตั้งเพื่อยกครู ขันตั้งประกอบด้วย สวยดอกไม้ธูปเทียน 12 สวยใส่หมากพลู 12 ข้าวเปลือกมีน้ำหนัก 10,000 (ประมาณ 1 กระบุง) ข้าวสารมีน้ำหนัก 1,000 (ประมาณ 1.5 ลิตร) ผ้าขาว 1 วา ผ้าแดง 1 วา หมาก 1,300 เบี้ย 1,300 เทียนขนาดใหญ่ 1 คู่ เทียนขนาดเล็ก 12 คู่ เงินขันตั้งจำนวนหนึ่ง เมื่อแต่งดาแล้วยกมาถวาย อาจารย์เพื่อโยงครูบอกกล่าวให้ครูบาอาจารย์ เป็นอันว่าได้เป็นลูกศิษย์อย่างสมบูรณ์
ขันตั้ง
หลังจากนั้นอาจารย์จะเริ่มสอนคาถาบทที่ไม่ยากให้ลูกศิษย์ท่องจำจนขึ้นใจ เช่น คาถาเป่าพิษตะขาบ คาถาดับพิษไฟ เป็นต้น ในช่วงที่เรียนการท่องจำมนตร์ ถ้ามีคนไข้มารับการรักษาอาจารย์จะฝึกให้ลูกศิษย์รักษาแทน งานแรกๆ ลูกศิษย์จะตื่นเต้นมาก เมื่อฝึกฝนมากขึ้นจึงมีความชำนาญ โดยเฉพาะเรื่องการวินิจฉัยอาการของโรคต้องอาศัยไหวพริบและความจดจำ
นอกจากจะสอนวิชาการรักษาโรคตามวิธีมดแล้ว อาจารย์จะสอนวิธีปฏิบัติตนให้ลูกศิษย์ด้วย เพื่อความขลังของอาคม มีข้อห้ามต่างๆ อย่างเรื่องอาหาร ห้ามกินข้าวและสิ่งอื่นในงานศพ ห้ามกินน้ำเต้า ห้ามกินแกงบอน เป็นต้น ห้ามลอดรั้ว ห้ามลอดราวตากผ้า ห้ามลอดเครือกล้วย เป็นต้น เมื่อได้เรียนรู้วิธีการรักษาโรคได้มากหลากหลายแล้ว อาจารย์จึงให้แยกตัวออกไปตั้งตนเป็นมดรักษาคนทั่วไปได้ การที่จะทำให้คนรู้จักหรือมีชื่อเสียง ในช่วงแรกจะอาศัยอาจารย์เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ ประกอบกับผู้เป็น อาจารย์เหนื่อยกับการรักษามามากแล้ว เมื่อมีคนแบ่งเบาภาระก็ย่อมยินดีที่จะช่วยแนะนำให้คนไข้ไปรักษากับหมอใหม่ ซึ่งได้ผลเหมือนกันกับการรักษาที่สำนักอาจารย์2.2 ถ่ายทอดวิธีการรักษาแบบหมอยา การรับเป็นลูกศิษย์หรือการเข้าเป็นลูกศิษย์ มีวิธีอย่างเดียวกันกับการเรียนแบบมด แต่วิธีการเรียนจะแตกต่างกัน เพราะการเรียนหมอยา อาจารย์จะเริ่มสอนตั้งแต่ให้ลูกศิษย์รู้จักสมุนไพรแต่ละอย่าง รู้จักลักษณะต้น ใบ ดอก และกลิ่น และลูกศิษย์ใหม่ยังจะต้องช่วยหั่น ช่วยโขลกตำ สมุนไพรให้กับอาจารย์หมอด้วย




หมอเมืองกับเครื่องบดยา
ต่อมาสมัยหลังการรักษาคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่างๆ หมอที่เก่งใช้วิธีการรักษาทั้ง 2 วิธีรวมกัน ทั้งวิธีรักษาแบบ “มด” และแบบ “หมอ” ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “มดหมอ”3. การเข้ารับการรักษา คนป่วยที่จะขอรับการรักษาจากมดหมอ ถ้าป่วยเป็นโรคที่ไม่รุนแรง ยังสามารถเดินเหินไปมาได้ จะเดินทางไปที่บ้านหมอ โดยมีกรวยหรือสวยใส่ดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาหมอ เพื่อขอให้หมอช่วยรักษาอาการป่วย จากนั้นหมอจะวินิจฉัยโรค เมื่อหมอตกลงรับรักษาจะให้คนป่วยเอาเงินใส่บูชาครูขันตั้ง หรือให้ผู้ป่วยซื้อยาตามโรคที่ป่วย ส่วนคนป่วยที่ไม่สามารถเดินไปได้ มีวิธีอยู่ 2 วิธี คือ ถ้าเป็นโรคที่ต้องรักษาแบบวิธีมด จะให้ญาตินำสวยดอกไม้ไปขอให้มดมารักษาผู้ป่วยที่บ้าน แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าเดินทาง เรียกว่า “ค่ากว๊านตีน” (แปลเป็นภาษาปัจจุบันคือเป็นค่ารองเท้า) ถ้าเป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยยา จะให้ญาติไปเล่าอาการป่วยให้หมอฟัง ทางหมอจะจัดยาให้ไปรักษาเอง หรือถ้าจะให้หมอไปรักษาด้วยยาที่บ้านก็ได้ แต่ก็ต้องมีค่าเดินทางเช่นเดียวกัน
หมอเมืองกำลังจัดยาให้ผู้ป่วย





















































































































































วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

วันฮาลาวีน




















เปิดตำนาน...วันฮาโลวีน
ปัจจุบันคนไทยรู้จัก เทศกาล “วันฮาโลวีน” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วันปล่อยผี” เหมือนกับที่รู้จักเทศกาลต่าง ๆ ตามประเพณีของชาวยุโรป เช่น วันคริสต์มาส วันวาเลนไทน์ ในคืนวันฮาโลวีน สถานที่บันเทิงต่าง ๆ ในกรุงเทพมักจะจัดตกแต่งบ้านเรือน ร้านค้า โดยใช้ฟักทองที่คว้านเป็นรูปผี หรือแต่งกายด้วยชุดแฟนซีสวมหน้ากากเป็นปิศาจรูปร่างต่าง ๆ กัน ดังจะเห็นได้ในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจดังนี้










ประวัติวันฮาโลวีน
ในวันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์ จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป
บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออกเปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนจึงกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกาและได้นำการละเล่น ประเพณีต่างๆมาเผยแพร่กัน
ประเพณีต่างๆ ในคืนวันฮาโลวีน



>> สหรัฐอเมริกา
Jack-O'-Lanterns
การทำ Jack-O'-Lanterns คือ การคว้านเมล็ดในของผลฝักทองออกให้หมดแล้วเจาะด้านหนึ่งของผลฝักทองให้เป็นรูปหน้าคนโดยมี ตา จมูก และปาก และใส่เทียนไข หรือโคมไฟประเภทอื่น ๆ ไว้ภายใน เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ชาวอังกฤษและชาวไอริชในสมัยโบราณเคยใช้หัวผักกาด (beets) มันฝรั่งและหัวเทอร์นิบ (turnips) เป็นโคมไฟในวันฮาโลวีน เมื่อเทศกาลฮาโลวีนแพร่หลายมาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเปลี่ยนมาใช้ผลฝักทองแทน เหตุที่ได้ชื่อว่า Jack-O'-Lantern เนื่องมาจากมีตำนานเล่าว่ามีชายคนหนึ่งที่ชื่อ แจ๊ค ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง 'การหยุดยั้งความชั่ว' Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้



Trick or Treat
นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกายังมีการละเล่นอีกอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or Treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด
>> อังกฤษ
การทำนายโชคชะตา
ที่ประเทศนี้ถือว่าวันฮาโลวีนนี้เป็นวันดี เหมาะสำหรับจัดงาน แต่งงาน การทำนายโชคชะตา หรือแม้แต่เรื่องความตายยังถือว่า วันนี้เป็นเพียงวันเดียวที่ภูตผีวิญญาณจะช่วยดลบันดาลให้สิ่งที่คนเป็นต้องการสามารถเป็นไปตามใจปรารถนา ประมาณเที่ยงคืนของวันฮาโลวีนสาวอังกฤษจะออกมาหว่าน และไถกลบเมล็ดป่าน พร้อมตั้งจิตอธิษฐาน และท่องคาถาร้องขอให้มองเห็นภาพของว่าที่คู่ชีวิตของตนในอนาคต เมื่อสาวเจ้าเหลียวมองผ่านบ่าด้านซ้ายก็จะได้เห็นภาพนิมิตของผู้ที่จะมาเป็นสามีของตนในอนาคต
อีกประเพณีหนึ่งของชาวอังกฤษ คือ การหย่อนเหรียญ 6 เพนนี ลงในอ่างน้ำ พร้อมแอปเปิ้ล ผู้ใดสามารถแยกแยะของสองสิ่งนี้ออกจากกันได้โดย ใช้ปากคาบเหรียญ และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิ้ลให้ติดได้ในครั้งเดียว ผู้นั้นจะมีโชคดีตลอดปีใหม่ที่กำลังจะมาเยือน